ปัจจุบัน บริษัท ซี . พี . ค้าปลีกและการตลาด จำกัด ประกอบด้วย 2 กิจการหลัก
กิจการอาหารพร้อมรับประทาน ผลิตและจัดจำหน่ายอาหารพร้อมรับประทานแช่เยือกแข็งและแช่เย็น ซึ่งเป็น อาหารที่ ผ่านขบวนการทำให้สุกและพร้อมรับประทาน ผ่านกรรมวิธีแช่เยือกแข็งและแช่เย็น จึงคงคุณภาพความสดใหม่ และคุณค่าทางอาหาร เพียงแต่นำอาหารมาอุ่นให้ร้อน ก็สามารถนำมารับประทานได้ทันที โดยส่งออกและจำหน่าย ในประเทศ ได้แก่ติ่มซำแช่เยือกแข็ง “ เจด ดราก้อน ” อาหารพร้อมรับประทาน “ เดลี่ไทย ” ข้าวปั้นสไตล์ญี่ปุ่น “โอ! อาโรจัง” และธุรกิจจัดเลี้ยง “มายมีล”
กิจการเบเกอรี่ ผลิตและจัดจำหน่ายขนมเบเกอรี่อบสด นับร้อยชนิดต่อวัน สำหรับตลาดค้าปลีกยุคใหม่ ภายใต้ เครื่องหมายการค้า เบเกอร์แลนด์ , เลอแปง และมิสแมรี่ ทุกผลิตภัณฑ์ได้รับการควบคุมเอาใจใส่อย่างพิถีพิถัน ตั้งแต่การวิจัยพัฒนาคัดสรรสูตรและส่วนผสมที่ดีที่สุด ผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอนและ ทุกโรงงานสาขา เพื่อให้ได้มีความอร่อยและความสดใหม่ภายใต้คุณภาพและมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศบริษัท ซี . พี . ค้าปลีกและการตลาด จำกัด ดำเนินงานภายใต้ปรัชญาที่ว่า “ บริษัทฯจะมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพภายในองค์กร เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการและความพอใจสูงสุดของลูกค้า “
ลำดับความเป็นมา
- 2531 ก่อตั้งบริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 170 ล้านบาท
- 2532 เริ่มส่งออกอาหารแช่เยือกแข็งไปยังต่างประเทศ และ เริ่มกิจการเบเกอรี่ เพื่อผลิตขนมอบสดทุก ประเภท เช่นขนมปัง เค้ก พาย คุกกี้ เพื่อส่งสาขา 7- Eleven และผลิต เค้กแช่เย็น ส่งซูเปอร์มาร์เก็ตและ ดิสเคาท์สโตร์
- 2534 เปิดตลาดติ่มซำแช่เยือกแข็งภายในประเทศ
- 2538 เริ่มส่งออกอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานแช่เยือกแข็งไปยังตลาดต่างประเทศ
- 2539 ขยายฐานการผลิตทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยย้ายสำนักงานใหญ่และโรงงานผลิตอาหาร สำเร็จรูป ไปอยู่ที่อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และเปิดกิจการเบเกอรี่สาขาขึ้นแห่งแรก ที่อำเภอเมือง จังหวัด พิษณุโลก เพื่อรองรับการขยายสาขาของ 7- Eleven ในภาคเหนือ
- 2542 ขยายโรงงานผลิตเบเกอรี่ มาอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ และ เปิดกิจการ สาขา เบเกอรี่อีก 2 แห่งที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น พร้อมจัดตั้งกิจการ ฟู้ดเซ็นเตอร์ ที่โรงงานลาดกระบัง สำหรับผลิตแซนวิชและอาหารสดอื่น ๆ ป้อนสาขาของ 7-Eleven ทำให้ปัจจุบัน บริษัทฯ สามารถตอบสนองลูกค้าทั้งผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปแช่เยือกแข็ง เบเกอรี่อบสด และแซนวิชได้ ครอบคลุมทั่วประเทศ อีกทั้งยังขยายไลน์ผลิตอาหารไทยสำเร็จรูปแช่ เยือกแข็งอาทิ ต้มยำกุ้ง ผัดกระเพราไก่ แกงเผ็ดฯลฯ
- 2547 เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 350 ล้านบาท
- 2549 เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 600 ล้านบาท
พันธกิจ
1. มุ่งพัฒนากระบวนการผลิตและจัดจำหน่ายด้วยวิทยการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย
2. มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด
3. มุ่งพัฒนาพนักงานทุกระดับให้มีประสิทธิภาพ โดยการส่งเสริมและแบ่งปันการเรียนรู้ทั่วทั้งองค์กร
4. ปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า ผู้ส่งมอบและชุมชนอย่างเป็นธรรม
5. รับผิดชอบต่อสังคมด้วยการลดการสร้างมลภาวะที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนชุมชน
ค่านิยมองค์กร
5. .A-Attitude ทัศนคติที่ดี
6. วัฒนธรรมองค์กร “การทำงานเป็นทีม” และ “การบริหารจัดการอย่างคล่องตัว”
ปัจจัยสำคัญที่กำหนดความสำเร็จของธุรกิจ
1. ความสามารถในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เบเกอรี่รองรับการขยายตัวที่ก้าวกระโดดในทศวรรษที่ผ่านมาของตลาด Modern Trade
2. ศักยภาพในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเป็นผู้บุกเบิก “ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่อบสด” แบบโฮมเมด ในตลาด Modern Trade ด้วยสินค้าที่หลากหลาย และวางตลาดสินค้าใหม่ทุกเดือน
3. ประสิทธิภาพในการกระจายสินค้าไปยังสาขาของลูกค้าทั่วประเทศทุกสาขาภายในวันเดียว เนื่องจากมีโรงงานสาขาอีก 4 แห่งกระจายทุกภาค ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก หาดใหญ่ และขอนแก่น
4. ปัจจัยดังกล่าว นับได้ว่ามาจากการนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์กร ที่สามารถคาดการณ์และตอบสนองความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภค โดยกำหนดทิศทางขององค์กรได้อย่างชัดเจนและบริหารจัดการตามที่มุ่งหวังไว้ได้เป็นอย่างดี
บทบาทและหน้าที่ของแต่ละฝ่ายในบริษัท
1. แผนกคลังสินค้าและผลิตสินค้า
มีหน้าที่ในการตรวจสอบสินค้าและรับข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า จากแผนกขายสินค้าเพื่อส่งไปยังแผนกจัดส่งสินค้าการจัดการสินค้าการส่งสินค้าไปยังจุดจ่ายทันทีที่รับสินค้าโดยไม่เก็บสต๊อกในคลังทำให้สินค้าของลูกค้าเคลื่อนที่ได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการผลิตสินค้าภายในบริษัท
ปัญหาคลังสินค้าและผลิต
1. คลังพัสดุไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับจัดเก็บในช่วงเดือนเทศการ
2. ฝ่ายจัดหาอุปกรณ์ไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์ที่ตรงต่อความต้องการ
3. คลังสินค้าไม่ทราบจำนวนสินค้าภายในคลังอาจยังไม่ขนมาแต่มีการบันทึกลงในรายการเรียบร้อยแล้วทำให้เช็คยอดยาก
4. สี ลวดลาย และขนาด ของชิ้นงานที่ทำไม่ได้ตามปริมาณคุณภาพที่ลูกค้ากำหนด
5. ข้อมูลมีความแตกต่าง เพราะ บางครั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลต่าง ๆ เช่น
5.1 มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของลูกค้า เช่น การย้ายที่อยู่อาศัย, การเปลี่ยนแปลง เบอร์โทรศัพท์
2. แผนกขนส่งและการกระจายสินค้า
มีหน้าที่ ขนส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าให้ตรงตามเวลา และสถานที่ที่กำหนด เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ โดยรับสินค้าจาก ฝ่ายผลิตและคลังสินค้า
ปัญหาการขนส่งและกระจายสินค้า
1. การขนส่งเป็นไปอย่างล่าช้า
2. พนักงานขาดความชำนาญทาง
3. ที่อยู่เกิดการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง
3.แผนกบัญชี
ในการบริหารธุรกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายของกิจการ (มีกำไรสูงสุด) จำเป็นต้องอาศัยระบบบัญชีต้นทุน การวิเคราะห์ต้นทุนและการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ การบริหารต้นทุนไม่ให้เกิดการสูญเปล่าหรือรั่วไหลการใช้ทรัพยากรที่มีอย่างคุ้มค่าล้วนแต่อาศัย ข้อมูลด้านต้นทุน ทั้งสิ้นดังนั้น ตัวเลขที่ถูกต้อง
แม่นยำและทันเหตุการณ์เท่านั้นที่จะมีชัยเหนือ คู่แข่งได้ สถาบันจึงได้จัดหลักสูตรนี้ขึ้น เพื่อให้ท่านผู้เข้าสัมมนาได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงในทางปฏิบัติ
ปัญหาแผนกบัญชี
1. เอกสารต่าง ๆ มีจำนวนมาก
2. ค้นหาเอกสารได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
3. เอกสารสูญหายเพราะ เอกสารมีมาก และจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ อาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทได้
4. การทำงบประมาณการเงินทำได้ยาก เพราะเอกสารมีจำนวนมากและจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
5. การอนุมัติงบประมาณเป็นไปอย่างล่าช้า
6. มีบกพร่องในการตรวจสอบบัญชี
7. ต้นทุนสูงงบประมาณต่ำ
4. แผนกจัดซื้อ
มีหน้าที่จัดซื้อวัตถุดิบ ชิ้นส่วนหรือวัสดุต่างๆที่หน่วยงานต้องการให้ตรงกับความต้องการทั้งในด้านปริมาณคุณภาพ และเวลา โดยให้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุด
ปัญหาของแผนกจัดซื้อ
1. วัตถุดิบ ชิ้นส่วนต่างๆ ที่หน่วยงานต้องการ บางอย่างจัดหาไม่ได้ตามที่กำหนด
2. วัตถุดิบ ชิ้นส่วนต่างๆบางชิ้นนั้นไม่ได้ตามปริมาณและคุณภาพที่กำหนด
3. วัตถุดิบ ชิ้นส่วนต่างๆบางชิ้นมีราคาแพงและในการจัดส่งต้องเสียค่าจัดส่งสินค้าด้วย
4. เวลาในการสั่งของสินค้าและได้รับนั้น ไม่ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
5.แผนกขาย
มีหน้าที่ในการบริการจำหน่ายสินค้าให้กับลูกค้า โดยแผนกขายจะมีการเก็บข้อมูลของลูกค้าที่มาสั่งซื้อ และข้อมูลการสั่งซื้อ
ปัญหาภายในแผนกขาย
1. เอกสารต่าง ๆ มีจำนวนมาก เอกสารต่าง ๆ มีดังนี้
1.1 เอกสารข้อมูลลูกค้า
1.2 เอกสารการสั่งซื้อสินค้า
1.3 เอกสารการขาย รวมถึงรายละเอียดของตัวสินค้าที่ขาย
1.4 รายละเอียดการรับประกันของสินค้า
2. เอกสารต่าง ๆ ถูกค้นหาได้ยาก เพราะการจัดเก็บที่ไม่เป็นระเบียบ
3. ข้อมูลมีความแตกต่าง เพราะ บางครั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลต่าง ๆ เช่น
3.1 มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของลูกค้า เช่น การย้ายที่อยู่อาศัย, การเปลี่ยนแปลงเบอร์โทรศัพท์
4. ข้อมูลเกิดการซ้ำซ้อน เพราะ บางครั้งลูกค้า 1 ท่าน อาจซื้อสินค้า หลายครั้ง และฝ่ายขายมีการเก็บข้อมูลทุกครั้ง เอกสารจึงเกิดความซ้ำซ้อน
6.แผนกควบคุมคุณภาพและบุคคล
ระบบการกำกับกระบวนการหรือกิจกรรมให้มีคุณภาพตามที่กำหนด โดยใช้กระบวนการตรวจสอบ (Inspection) ทดสอบ (Testing) และทวนสอบ (Verification) ว่าผลที่ได้ ซึ่งอาจเป็นผลิตภัณฑ์หรือผลของการให้บริการนั้นเป็นไปตามข้อกำหนด ถ้าพบสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดหรือข้อบกพร่องก็ต้องกำหนดปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) เพื่อแก้ไขสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดหรือข้อบกพร่องและกำจัดสาเหตุที่มาของสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดหรือข้อบกพร่องนั้น การจัดการดูแล งานด้านการบริหารบุคคลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับพนักงาน การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน การลงโทษนักงาน ในองค์กร
ปัญหาแผนกควบคุมคุณภาพและบุคคล
1. บุคลากรไม่เพียงพอ
2. การบริการล่าช้า
3. เอกสารมีจำนวนมาก ทำให้ยากต่อการจัดเก็บ
4. การค้นหาเอกสารเป็นไปได้ยาก เนื่องจากไม่มีการจัดเก็บเอกสารอย่างเป็นระบบ
ปัญหาระหว่างแผนก
ปัญหาระหว่างคลังและการขนส่ง
1. การปฏิบัติงานไม่ต่อเนื่อง
2. การจัดหมวดหมูในคลังไม่เป็นระบบทำให้การขนส่งกระจายสินค้าทำได้อย่างล่าช้า
ปัญหาระหว่างแผนกขายกับแผนกจัดส่งสินค้า
1. ถ้าแผนกขายทำเอกสารการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าหายจะทำให้แผนกจัดส่งสินค้าไม่ทราบว่าจะส่งสินค้าให้กับลูกค้าไม่ได้ ไม่รู้สถานที่จัดส่งสินค้า เวลาในการนัดรับสินค้าไม่ตรงตามที่ระบุ
ปัญหาระหว่างบัญชีกับจัดซื้อ
1. การอนุมัติสั่งซื่อล่าช้าทำให้ฝ่ายจัดซื้อเสียเวลาในการหาอุปกรณ์
2. ต้นทุนในการซื้อสินค้าในการขนส่งสูง รายได้ต่ำ
3. ฝ่ายจัดซื้อไม่แจ้งจำนวนเงินในการจำหน่ายสินค้าให้ฝ่ายบัญชีและการเงินทราบ ทำให้ฝ่ายบัญชีและการเงินไม่สามารถจัดทำงาบประมาณการเงินได้
ปัญหาระหว่างฝ่ายซ่อมบำรุงและความปลอดภัยกับธุรการบุคคลและจัดซื้อ
1. ฝ่ายติดตั้งซ่อมบำรุงขาดประสบการณ์ในการทำงาน เพราะฝ่ายบุคคลไม่จัดการอบรมการทำงานให้กับบุคคลากรในฝ่ายนี้
2. ฝ่ายติดตั้งและซ่อมบำรุงไม่เพียงพอในการทำงานเพราะไม่มีการแจ้งให้ฝ่ายบุคคลากรทราบว่าต้องการบุคลลากรเพิ่ม
ปัญหาระหว่างฝ่ายซ่อมบำรุงและความปลอดภัยกับลูกค้าสัมพันธ์และระบบคุณภาพ
1. ฝ่ายซ่อมไม่ตรวจสอบคุณภาพของยานพาหนะที่ใช่ในการขนส่งทำให้พัสดุลูกค้าเกิดความเสียหาย
ปัญหาระหว่างฝ่ายระหว่างบริการต้นทุน งบประมาณและรายได้และคลังสินค้า
1. ฝ่ายคลังสินค้าไม่ได้แจ้งยอดการคลังสินค้าให้แผนกบัญชีทราบ ฝ่ายบัญชีก็ไม่สามารถทำงบการเงินได้ เพราะจะต้องทราบยอดการขนส่งในแต่ละงวด
ปัญหาระหว่างบัญชีและฝ่ายขนส่ง
1. ถ้าฝ่ายจัดส่งสินค้าไม่ส่งสินค้าให้กับลูกค้า แล้วไม่แจ้งการชำระเงินของลูกค้าให้ฝ่ายบัญชีทราบ ฝ่ายบัญชีก็จะไม่ทราบว่าลูกค้าชำระเงินแล้ว
ปัญหาระหว่างแผนกควบคุมคุณภาพและบุคคลกับฝ่ายผลิต
1. ถ้าแผนกควบคุมคุณภาพตรวจพบ ปัญหาที่ชิ้นงานที่ฝ่ายผลิตทำ แผนกควบคุมคุณภาพก็จะต้องตีชิ้นงานนั้นกลับไปให้ฝ่ายผลิตทำใหม่ จึงทำให้การดำเนินการผลิตนั้นเป็นไปอย่างล่าช้าไม่ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
ปัญหาทั้งหมดและระบบแก้ไขปัญหา
1. เอกสารมีจำนวนมาก ทำให้การจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
2. สิ้นเปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
3. ค้นหาเอกสารได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีเยอะและจัดเก็บไว้หลายที่
4. ข้อมูลมีการสูญหาย เพราะไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเอกสารที่ต้องการอยู่ตรงไหน เนื่องจากการเก็บเอกสารยังไม่เป็นระบบ อาจทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย
5. ข้อมูลมีความซ้ำซ้อน เนื่องจากลูกค้า 1 ท่านมาซื้อสินค้าหลายครั้ง แต่พนักงานขายก็เก็บข้อมูลทุกครั้งทำให้มีเอกสารซ้ำซ้อน
6. การตรวจสอบเกี่ยวกับข้อมูลทางการเงินทำได้ช้า ไม่สะดวกรวดเร็ว
7. ในการเช็คสต็อกอาจเกิดความผิดพลาดขึ้น เนื่องจากสินค้าจัดเก็บอยู่หลายที่ทำให้อาจลืมเช็คได้
8. ข้อมูลสินค้าสูญหายทำให้จำนวนสินค้าภายในคลังสินค้าอาจไม่พอหรือว่ามีจำนวนสินค้ามากเกินไป เนื่องจากไม่สามารถเช็คได้ว่าในคลังสินค้ามีจำนวนสินค้าอยู่เท่าไร
9. ระยะเวลาในการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าอาจใช้เวลานานเนื่องจากต้องมีการค้นหาข้อมูลลูกค้าก่อน
10. ข้อมูลมีความแตกต่าง เช่น ลูกค้ามีที่อยู่หลายที่ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าจะจัดส่งสินค้าให้ที่ใด
11. พบข้อบกพร่องของชิ้นงานที่ทำ เช่น สินค้าที่ทำออกมาไม่ตรงไปตามแบบที่ลูกค้ากำหนด
12. ปริมาณและคุณภาพของสินค้าไม่ได้ตามที่กำหนด
13. วัตถุดิบ ชิ้นส่วนต่างๆบางชิ้นมีราคาแพง
14. ระยะเวลาในการรับสินค้าที่สั่ง ไม่ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
15. อุปกรณ์บางชิ้นนำไปใช้แล้วเกิดการชำรุดเสียหาย
16. อุปกรณ์ยืมไปไม่ได้คืน
17. ระยะเวลาในการซ่อมบำรุงนั้นบางอย่างก็ไม่ตรงตามที่กำหนด
18. แบบสิ้นค้าไม่ถูกใจลูกค้า
19. ระยะเวลาในการออกแบบชิ้นงานไม่ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
20. สินค้าไม่ได้คุณภาพตามที่ลูกค้ากำหนด
21. แผนกขายทำเอกสารในการสั่งซื้อสูญหาย แผนกบัญชีจะไม่ทราบยอดการสั่งซื้อ
22. แผนกขายทำเอกสารใบชำระเงิน ของลูกค้าสูญหายแผนกบัญชีก็จะไม่ทราบว่าลูกค้าจ่ายเงินหรือยัง
23. แผนกขายได้ขายสินค้าไปโดยไม่ได้แจ้งให้แผนกบัญชีทราบจะทำให้ยอดขายกับยอดการเงินไม่เท่ากัน
24. แผนกคลังสินค้าไม่ทราบยอดสินค้า ทำให้เมื่อแผนกขายจะขายสินค้าก็จะไม่ทราบว่าสินค้ามีจำนวนเพียงพอกับการขายหรือไม่
25. แผนกขายไม่ได้ส่งยอดการสั่งซื้อและการสั่งจองในบางกรณีของลูกค้าให้แผนกคลังสินค้าทราบ ทำให้แผนกคลังสินค้าไม่ทราบว่าจะต้องมีการสั่งซื้อสินค้ามาเพิ่มหรือไม่ เพื่อให้เพียงพอสำหรับการขาย
26. แผนกขายทำเอกสารการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าหายจะทำให้แผนกจัดส่งสินค้าไม่ทราบว่าจะส่งสินค้าให้กับลูกค้าไม่ได้ ไม่รู้สถานที่จัดส่งสินค้า เวลาในการนัดรับสินค้าไม่ตรงตามที่ระบุ
27. แผนกคลังสินค้าไม่ได้แจ้งยอดการคลังสินค้าให้แผนกบัญชีทราบ แผนกบัญชีก็ไม่สามารถทำงบการเงินได้ เพราะจะต้องทราบยอดสินค้าคงเหลือของแต่ละงวด
28. แผนกจัดส่งสินค้าไม่ส่งสินค้าให้กับลูกค้า แล้วไม่แจ้งการชำระเงินของลูกค้าให้แผนกบัญชีทราบ แผนกบัญชีก็จะไม่ทราบว่าลูกค้าชำระเงินแล้ว
29. แผนกคลังสินค้าไม่ทราบยอดสินค้า ว่ามีพอสำหรับการจัดส่งสินค้าหรือไม่ แผนกจัดส่งสินค้าก็อาจจะไม่มีสินค้าไปจัดส่งให้กับลูกค้า
30. แผนกควบคุมคุณภาพตรวจพบ ปัญหาที่ชิ้นงานที่ฝ่ายผลิตทำ แผนกควบคุมคุณภาพก็จะต้องตีชิ้นงานนั้นกลับไปให้ฝ่ายผลิตทำใหม่ จึงทำให้การดำเนินการผลิตนั้นเป็นไปอย่างล่าช้าไม่ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
31. แผนกซ่อมบำรุง อุปกรณ์เครื่องมือหมดต้องไปสั่งซื้อที่แผนกจัดซื้อ แผนกจัดซื้ออุปกรณ์บางชิ้นไม่สามารถหาซื้อได้ และระยะเวลาในการสั่งซื้ออุปกรณ์นั้นๆ กินเวลาพอสมควร
32. แผนกซ่อมบำรุงเข้าไปดำเนินการซ่อมบำรุง ฝ่ายผลิตก็จะไม่มีเครื่องมือผลิต จึงทำให้ยอมในการผลิตสินค้านั้นลดน้อยลงทำให้ไม่ได้ตามเป้าที่กำหนด ส่งผลให้การผลิตนั้นไม่เสร็จตรงตามระยะเวลาที่ต้องส่งสินค้าให้กับลูกค้า
33. ถ้าแผนกจัดซื้อไม่มีรายการสินค้าที่จะซื้อให้กับแผนกบัญชีก็จะไม่สามารถเบิกจ่ายเงินออกมาซื้อสินค้าได้
ลักษณะของสถานประกอบการหรือแหล่งที่มาของรายรับ-รายจ่ายที่ทางบริษัทได้รับคือ ได้จากการขายสินค้าต่าง ๆของบริษัทให้กับลูกค้าของทางบริษัทเกิดจากรายจ่ายต่าง ๆ ดังนี้
- การจ่ายเงินของพนักงานในบริษัท
- การซ่อมบำรุงเครื่องจักรในโรงงานที่ใช้ในการผลิต
- การชะรำค่าน้ำมันในการขนส่ง
- การจัดหาซื้ออุปกรณ์ในการผลิต การติดตั้งและการซ่อมบำรุง
- การจัดหาอุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ ของบริษัท
วัตถุประสงค์ของการพัฒนาระบบใหม่
เป็นการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการและแก้ไขปัญหาในระบบการทำงานแบบเดิม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อให้มีความสะดวกและรวดเร็วกว่าระบบงานเดิม
2. เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ จัดเก็บ ค้นหาข้อมูลและลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
3. เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการจัดการในฝ่ายต่าง ๆ ของบริษัท
4. เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง และเชื่อถือได้
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. การทำงานจะมีความสะดวกและรวดเร็วกว่าระบบงานเดิม
2. ไม่เกิดการซ้ำซ้อนของข้อมูลเพราะมีการจัดการ จัดเก็บ ข้อมูลที่ดีกว่าเดิม
3. สามารถแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ของแต่ละแผนกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ เพื่อลดความผิดพลาดในการทำงาน
ขอบเขตในการพัฒนาระบบ
1. ระบบการจัดการสินค้า
2. ระบบการผลิตสินค้า
3. ระบบการพัฒนาบุคคลากร
4. ระบบบัญชี
ขั้นตอนที่ 1
การค้นหาและเลือกสรรโครงการและการประเมินความต้องการของบริษัท
ตารางแสดงรายการการทำงาน(Functions)หรือกิจกรรมทั้งหมดของบริษัท
ตารางที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และหน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
แสดงการจำแนกกิจกรรม (Activities) ของหน้า ที่การทำงาน (Functions) ในบริษัท
แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และหน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ตารางสรุปการพิจารณาของโครงการพัฒนาระบบ
สรุปการพิจารณาของโครงการพัฒนาระบบ
จากการพิจารณาโครงการทั้ง 8 โครงการตามวัตถุประสงค์ ขนาดโครงการและ ผลประโยชน์ จะพบว่าโครงการที่ตรงตามวัตถุประสงค์ และให้ผลประโยชน์แก่บริษัท มากที่สุด คือโครงการระบบจัดการตารางเวลา บริษัทจึงเห็นควรเลือกโครงการระบบจัดการตารางเวลา ซึ่งเป็นระบบที่ครอบคลุมส่วนงานเพื่อจัดสรรเวลาในการทำงานของแต่ละแผนกให้เสร็จตามเวลาที่กำหนดไม่ก่อให้เกิดปัญหาการทำงานล่าช้าในแต่ละแผนก เพราะเมื่อแผนกใดแผนกหนึ่งทำงานล่าช้ากว่ากำหนด อีกแผนกจะไม่สามารถดำเนินงานต่อได้ และยังสามารถสร้างผลกำไร สรร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าได้อีกด้วย อีกทั้งยังเป็นโครงการขนาดกลางที่ใช้เงินลงทุนไม่มาก
1. ค้นหาโครงการที่ต้องการพัฒนา
จากการค้นหาโครงการของแผนกต่าง ๆ สามารถรวบรวมโครงการพัฒนาระบบได้ทั้งหมด 4 โครงการดังนี้
2. จำแนกและจัดกลุ่มโครงการที่ค้นหามาโครงการทั้ง 4 ที่สามารถค้นหามาได้ มีวัตถุประสงค์ของโครงการที่แตกต่างกันดังนี้
-โครงการพัฒนาระบบการขายมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การทำงานของบริษัทมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เริ่มตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ เช่น รายละเอียดลูกค้า รายละเอียดการขายสินค้า รวมถึงการบริการต่าง ๆ แล้วทำการกระจายข้อมูลไปยังฝ่ายต่าง ๆ ที่ต้องการข้อมูลในส่วนนั้น ๆ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- โครงการพัฒนาระบบการผลิตและคลังสินค้ามีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทมีจำนวนสินค้าที่เหมาะสมแก่การจำหน่าย โดยมีการเก็บข้อมูลจากฝ่ายขาย ว่าบริษัทมีการประมาณการจำหน่ายสินค้าอย่างไรและนำมาทำการ วิเคราะห์เพื่อผลิตสินค้า และคงคลังให้พอเหมาะ ซึ่งจะทำให้สามารถคาดคะเนการผลิตได้ถูกต้อง
- โครงการพัฒนาบุคลากรในการทำงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของตัวเอง และมีการอบรม สัมมนาให้บุคลากรทำงานในหน้าที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อให้บริษัทมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
-โครงการพัฒนาระบบจัดสรรงบประมาณของบริษัทมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทมีงบประมาณที่ใช้อย่างเหมาะสม และสามารถทราบยอดรายรับ-รายจ่าย ของบริษัทเพื่อทราบต้นทุนกำไรของบริษัทได้
เมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ของโครงการทั้ง 4 แล้ว พบว่าล้วนแล้วแต่ให้ประโยชน์กับบริษัทจึงจำเป็นต้องคัดเลือกโครงการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัทมากที่สุด ดังนั้นจึงเริ่มต้นด้วยการนำโครงการทั้ง 4 มาเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของบริษัทเพื่อค้นหาโครงการที่ตรงตามวัตถุประสงค์มากที่สุด และสามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุดของบริษัทได้การเสนอแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งานแนวทางเลือกเพื่อนำระบบใหม่มาใช้งาน โดยจะบอกถึงรายระเอียดของระบบที่จะพัฒนามีดังนี้ ระบบจัดเก็บเอกสาร ระบบการเงิน ระบบคลังสินค้า ระบบขนส่ง ระบบตรวจสอบสินค้า ระบบจัดซื้อ ระบบจัดเก็บอุปกรณ์ ระบบจัดการตารางเวลา โดยมีแนวทางเลือกจำนวนทั้งสิน 2 ทางเลือก
1.จ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ2.ให้ทีมงานของเราพัฒนาระบบเอง
ทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้ที่ดีที่สุด
ขั้นตอนที่ 2
การเริ่มต้นและวางแผนโครงการและลักษณะของสถานประกอบการของแหล่งรายรับ-รายจ่ายเป้าหมาย
นำระบบสาระสนเทศมาใช้เพื่อบริหารเวลาการทำงานในบริษัทเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการทำงานและบริหารเวลาในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของการพัฒนาระบบใหม่
เป็นการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการและแก้ไขปัญหาในระบบการทำงานแบบเดิม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อให้มีความสะดวกและรวดเร็วกว่าระบบงานเดิม
2. เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ จัดเก็บ ค้นหาข้อมูลและลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
3. เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการจัดการในฝ่ายต่าง ๆ ของบริษัท
4. เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง และเชื่อถือได้
ขอบเขตในการพัฒนาระบบ
1. ระบบการจัดการสินค้า
2. ระบบการผลิตสินค้า
3. ระบบการพัฒนาบุคคลากร
4. ระบบบัญชี
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. การทำงานจะมีความสะดวกและรวดเร็วกว่าระบบงานเดิม
2. ไม่เกิดการซ้ำซ้อนของข้อมูลเพราะมีการจัดการ จัดเก็บ ข้อมูลที่ดีกว่าเดิม
3. สามารถแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ของแต่ละแผนกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ เพื่อลดความผิดพลาดในการทำงาน
ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้รับมอบหมาย อาจจะเป็นบุคคลที่มีความรู้ในด้านของระบบที่ต้องการเปลี่ยนแปลงที่ทำงานอยู่ในบริษัทหรือทางบริษัทจ้างให้ทำการวิเคราะห์ระบบ ซึ่งบุคคลจะต้องดำรงตำแหน่งเกี่ยวกับการดูแลระบบ เช่น
1. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ เป็นบุคคลที่มีความรู้ในเรื่องของการทำงานของระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลและติดต่อประสานงานระหว่างผู้ใช้ พนักงานหรือทีมโปรแกรม จำทำเอกสารของระบบรวมถึงการทดสอบโปรแกรมของระบบ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. โปรแกรมเมอร์ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ 2 คน ทำหน้าที่ในการเขียนและติดตั้งโปรแกรมของระบบที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลง รวมทั้งทดสอบโปรแกรมของระบบใหม่
ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร
จากดังกล่าวเราอาจจะมีการแบ่งงานออกเป็นทีมหรือว่ามีการระบุหน้าที่ให้แต่ละฝ่ายหรือแต่ละคนทราบ เพื่อที่งานจะประสบผลสำเร็จ ปัจจุบันทางบริษัทได้มีการใช้ระบบเครือข่าย LAN อยู่แล้วหรือเครือข่ายที่มีความเร็วสูงกว่านี้ มีรายละเอียดพอเข้าใจดังนี้
1. เครื่องแม่ข่าย(Server) จำนวน 6 เครื่อง
2. เครื่องลูกข่าย(Workstation) จำนวน 60 เครื่อง
3. เครื่องพิมพ์(Printer) จำนวน 10 เครื่อง
ปัจจุบันทางบริษัทได้นำเทคโนโลยีหลายอย่างมาใช้ในการบริหารงาน ซึ่งปัจจุบันมีรายละเอียดดังนี้
1. ระบบโปรแกรม 1 ระบบ
2. เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและลูกข่ายตามจำนวนที่บริษัทต้องการ
3. บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการทำงานของโปรแกรม
4. อุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบ
สรุปงบประมาณที่ใช้ในของแต่ละฝ่ายได้ดังนี้
1. ในส่วนของผู้บริหาร
- ค่าตอบแทนสำหรับทีมงานพัฒนา
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบโปรแกรมเมอร์ 85000
2. แผนกทุกแผนกที่มีการเปลี่ยนแปลงระบ
- ค่าการฝึกอบรมพนักงานใหม่เกี่ยวกับระบบใหม่ 350000
3. การจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ
- เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ใช้ในการลงระบบ 50000
- อื่น ๆ 10000
ประมาณการใช้งบประมาณ
จากรายการดังกล่าวเป็นเพียงการประมาณค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ที่ทางองค์กรจ่ายในการปรับปรุงระบบ ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่านี้ที่ใช้เพราะในแต่ละองค์กรจะมีหลายแผนกในการทำงานและงานในแต่ละระบบจะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนมาก ดังนั้นค่าใช้จ่ายจึงไม่เท่ากัน
ประมาณการระยะเวลาดำเนินงาน
ระยะเวลาในการดำเนินงานการวิเคราะห์ระบบของบริษัทซี.พี.ค้าปลีกและการตลาด จำกัด ที่ต้องการนำระบบมาใช้ในการทำงานในส่วนของระบบจัดการตารางเวลาเพื่อความสะดวกในส่วนของการทำงานภายในบริษัท ซึ่งก่อนที่จะได้เริ่มทำงานนั้นเราจะต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาถึงขั้นตอนต่าง ๆ เป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือน คือเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง พฤศจิกายน 2552 ซึ่งสามารถแสดงรายละเอียดการดำเนินงานได้ดังนี้

จากดำเนินการดังกล่าวระยะเวลาที่ใช้จริง ๆ ในการวิเคราะห์อาจจะไม่พอแต่เพื่อเป็นการสรุปอย่างคร่าว ๆ ว่าเราได้ดำเนินการอะไรไปบ้างและระบบใหม่ที่ได้จะเสร็จภายในกี่วัน ซึ่งเราก็ได้ยกตัวอย่างไปแล้ว
รายงานสรุปผลสำหรับผู้บริหาร
จากการศึกษาปัญหาที่พบจากระบบเดิมของบริษัท ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาด จำกัด ส่วนใหญ่บริษัทจะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้แล้วบางส่วนแต่บางระบบก็ต้องการระบบที่มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น ดังนั้นทางบริษัทจึงต้องมีการจัดทำระบบใหม่ขึ้น เมื่อเราทำการวิเคราะห์ระบบแล้วขั้นตอนต่าง ๆ ที่เราได้ทำก็จะจัดทำรายงานสรุปผลสำหรับผู้บริหารเพื่อให้ทราบขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ซึ่งจะมีขั้นตอนประกอบย่อย ๆเพื่อความเข้าใจง่าย 2 ด้านดังนี้
1• ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค
ในส่วนนี้อาจจะเกี่ยวกับ ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ขอระบบเดิมว่ามีการใช้ส่วนใดบ้าง เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อใช้งานในด้านต่าง ๆ และอุปกรณ์อื่น ๆ
2. ความเป็นไปได้ทางด้านการปฏิบัติงาน
ทำการศึกษาด้านต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานของผู้ใช้ของระบบใหม่ที่จะนำมาใช้กับบริษัท ซึ่งขั้นตอนนี้จะเกี่ยวกับการทดสอบ การทดลองของระบบว่าระบบใหม่นี้มีผลต่อการทำงานของบริษัทอย่างไรจากการทำงานของนักวิเคราะห์ระบบผลที่ได้ประสบผลสำเร็จระบบที่ได้เป็นที่ตรงตามความต้องการของบริษัท
ขั้นตอนที่ 3การกำหนดความต้องการของระบบ
เมื่อโครงการพัฒนาระบบจัดการตารางเวลา ได้รับการอนุมัติจากการนำเสนอโครงการในขั้นตอนที่ผ่านมา ดั้งนั้นจึงเริ่มต้นด้วยความการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบเดิม ในการกำหนดความต้องการครั้งนี้ ทีมงานเลือกใช้วิธีการออกแบบสอบถาม (Questionnaire)บุคคลผู้ตอบแบบสอบถามคือผู้จัดการแผนกต่างๆ การใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลในส่วนที่ต้องการพัฒนา เนื่องจากทีมงานสามารถควบคุมหัวข้อคำถามที่ต้องการรายละเอียดได้มากกว่าการสัมภาษณ์ ไม่ต้องมีกาจดบันทึก ไม่รบกวนเวลาทำงานของผู้จัดการแผนกต่างๆมากนัก สามารถเก็บข้อมูลได้มากตามการตั้งคำถามในแบบสอบถาม อีกทั้งผู้ตอบแบบสอบถามจะรู้สึกมีอิสระในการให้ข้อมูล
ตัวอย่างแบบสอบถาม

ข้อมูลและเอกสารของระบบงานเดิมที่รวบรวมได้
จากการที่ทีมงานได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากแผนกต่างๆ ด้วยวิธีการออกแบบสอบถาม สามารถสรุปข้อมูลที่ได้รับดังนี้
1. ข้อมูลระบบการทำงานของแต่ละแผนก
2. ความเหมาะสมของเวลาการทำงานต่อคนต่องาน
3. ระยะเวลาของแต่ละส่วนงานที่ได้รับ
ความต้องการของระบบใหม่ของผู้ใช้
จากการรวบรวมความต้องการของระบบใหม่ทำให้ทีมงานได้ข้อมูลเพิ่มเติม จังได้นำมาวิเคราะห์หาขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่ตามความต้องการดังนี้
1. สามารถเรียกดูข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น
2. สามารถแก้ไข ปรับปรุงข้อมูลได้โดยสะดวก
3. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
4. การจัดทำรายงานมีความสะดวกรวดเร็วขึ้น
เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการดังกล่าว สามารถแบ่งการทำงานดังนี้
ระบบการจัดการตารางเวลา เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับเวลา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานและก่อให้เกิดผลกำไรต่อบริษัทมากที่สุด เพราะระบบจะทำการตรวจเช็คเวลาสินค้าที่ผลิตออกมาเวลามีระยะเวลาการทำงานเท่าไร เริ่มต้นและสิ้นสุดเท่าไร ทำให้สามารถผลิตสินค้าเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไม่เกิดปัญหาต่อลูกค้าและบริษัท จึงก่อให้เกิดผลดีและกำไรสูงสุด

แบบหน้าตาโปรแกรมการขายสินค้าแบบชำระเงินสด

1. รับรหัสสินค้า
2. รับจำนวนที่ขาย
3. หากต้องการเปลี่ยนแปลงราคาสามารถดูได้จากปุ่มดูราคาแล้วทำการเปลี่ยนแปลงในช่องราคา/หน่วยได้
4. บันทึกรายการนั้น
5. ทำการบันทึกรายการสินค้าที่ซื้อจนครบทุกรายการแล้วทำการรวมจำนวนเงินทั้งสิ้น
6. บันทึกการขาย
7. ถ้าไม่ต้องการขายให้ยกเลิกการขายสินค้าได้
8. สินค้าใดมีจำนวนเท่ากับจุดสั่งซื้อมีคำเตือนและสามารถเลือกที่จะสั่งซื้อได้หรือไม่
9. ออกจากการทำงาน
Table : สินค้า,ขายสดหลัก,ขายละเอียด,รายได้
ฟอร์มการขายสินค้าเชื่อ

1. รหัสลูกค้า โปรแกรมจะบอกจำนวนเงินเครดิตคงเหลือให้ทราบ
2. รับรหัสสินค้า
3. รับจำนวนที่ขาย
4. หากต้องการเปลี่ยนแปลงราคาสามารถดูได้จากปุ่มดูราคาแล้วทำการเปลี่ยนแปลงในช่องราคา/หน่วยได้
5. บันทึกรายการนั้น
6. ทำการบันทึกรายการสินค้าที่ซื้อจนครบทุกรายการแล้วทำการรวมจำนวนเงินทั้งสิ้น
7. ถ้าไม่ต้องการขายให้ยกเลิกการขายสินค้าได้
8. สินค้าใดมีจำนวนเท่ากับจุดสั่งซื้อมีคำเตือนและสามารถเลือกที่จะสั่งซื้อได้หรือไม่
9. ใส่จำนวนงวดที่ต้องการชำระเงินโดยไม่เกิน 3 งวด
10. บันทึกการขาย
11. ออกจากการทำงาน
Table : ลูกค้า,สินค้า,ขายเชื่อหลัก,ขายละเอียด

1. เลือกประเภทการขาย
2. เลือกสาเหตุการคืน
3. เลือกเลขที่ขาย ทำการแสดงชื่อลูกค้าที่ซื้อไป
4. เลือกสินค้าที่นำมาคืน
5. เลือกการรับคืน ถ้าเลือกลดสินค้าตัวเดิมคือมีสินค้าเดิมอยู่แล้วเปลี่ยนให้ไป ถ้าเลือกลดหนี้หรือคืนเงินแสดงว่าไม่มีสินค้าที่ลูกค้านำมาเปลี่ยน ถ้าเลือกเปลี่ยนตัวใหม่แสดงว่าลูกค้าซื้อผิดไปต้องเอาตัวใหม่เปลี่ยนให้ไป โดยจะทำการบันทึกสินค้าที่เปลี่ยนให้ไป จากนั้นยืนยันการรับคืน
6. สามารถยกเลิกการรับคืนแต่ละรายการได้
7. ทำการบันทึกการรับคืน
8. หากต้องการยกเลิกรายการสามารถทำได้
9. ทำการบันทึกสินค้าที่รับคืน
10. เสร็จสิ้นแล้วออกจากการทำงาน
Table : ขายสดหลัก,ขายเชื่อหลัก,ลูกค้า,สินค้า,รับ-ส่งคืนสินค้า,บันทึกรายการสินค้าที่เปลี่ยนใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น