วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บริษัท ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาด จำกัด

บริษัท ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาด จำกัด           เป็นบริษัทหนึ่ง ในเครือ เจริญโภคภัณฑ์ ดำเนินการผลิตและจัดจำหน่าย อาหารพร้อมรับประทาน ก่อตั้งเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2531 ผลิตภัณฑ์เริ่มต้นคือ กลุ่มอาหารว่างจีนประเภท ติ่มซำ (Dim Sum) แช่เยือกแข็งและแช่เย็น จากนั้น ได้ขยายฐาน เข้าสู่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ เบเกอรี่ (Bakery) เพื่อผลิตขนมอบสด ชนิดต่างๆ และขยายสาย ผลิตภัณฑ์เข้าสู่อาหารพร้อมรับประทานแช่เยือกแข็ง เป็นลำดับต่อมาบริษัทฯไม่เคยหยุดนิ่งที่จะนำเทคโนโลยีเครื่องจักรอันทันสมัยมาใช้ในกระบวนการผลิตและการวิจัย พัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง การให้ความสำคัญในการดำเนินงานตาม ระบบมาตรฐานสากล ไม่ว่า จะเป็น ระบบการ จัดการคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001:2000, ระบบตรวจสอบวิเคราะห์ความปลอดภัย ในผลิตภัณฑ์ อาหาร HACCP, ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมมาตรฐาน ISO 14001, ระบบการจัดการอาชีว อนามัยและความ ปลอดภัย มอก .18001 และระบบคุณภาพโดยรวม TQM ทำให้กิจการของบริษัทฯเจริญ ก้าวหน้าและเติบโตอย่าง มีประสิทธิภาพ มาโดยลำดับ และมีทุนจดทะเบียน 600 ล้านบาทในปัจจุบัน
ปัจจุบัน บริษัท ซี . พี . ค้าปลีกและการตลาด จำกัด ประกอบด้วย 2 กิจการหลัก
กิจการอาหารพร้อมรับประทาน ผลิตและจัดจำหน่ายอาหารพร้อมรับประทานแช่เยือกแข็งและแช่เย็น ซึ่งเป็น อาหารที่ ผ่านขบวนการทำให้สุกและพร้อมรับประทาน ผ่านกรรมวิธีแช่เยือกแข็งและแช่เย็น จึงคงคุณภาพความสดใหม่ และคุณค่าทางอาหาร เพียงแต่นำอาหารมาอุ่นให้ร้อน ก็สามารถนำมารับประทานได้ทันที โดยส่งออกและจำหน่าย ในประเทศ ได้แก่ติ่มซำแช่เยือกแข็ง “ เจด ดราก้อน ” อาหารพร้อมรับประทาน “ เดลี่ไทย ” ข้าวปั้นสไตล์ญี่ปุ่น “โอ! อาโรจัง” และธุรกิจจัดเลี้ยง “มายมีล”


กิจการเบเกอรี่ ผลิตและจัดจำหน่ายขนมเบเกอรี่อบสด นับร้อยชนิดต่อวัน สำหรับตลาดค้าปลีกยุคใหม่ ภายใต้ เครื่องหมายการค้า เบเกอร์แลนด์ , เลอแปง และมิสแมรี่ ทุกผลิตภัณฑ์ได้รับการควบคุมเอาใจใส่อย่างพิถีพิถัน ตั้งแต่การวิจัยพัฒนาคัดสรรสูตรและส่วนผสมที่ดีที่สุด ผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอนและ ทุกโรงงานสาขา เพื่อให้ได้มีความอร่อยและความสดใหม่ภายใต้คุณภาพและมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศบริษัท ซี . พี . ค้าปลีกและการตลาด จำกัด ดำเนินงานภายใต้ปรัชญาที่ว่า “ บริษัทฯจะมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพภายในองค์กร เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการและความพอใจสูงสุดของลูกค้า “


ลำดับความเป็นมา
  • 2531 ก่อตั้งบริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 170 ล้านบาท
  • 2532 เริ่มส่งออกอาหารแช่เยือกแข็งไปยังต่างประเทศ และ เริ่มกิจการเบเกอรี่ เพื่อผลิตขนมอบสดทุก ประเภท เช่นขนมปัง เค้ก พาย คุกกี้ เพื่อส่งสาขา 7- Eleven และผลิต เค้กแช่เย็น ส่งซูเปอร์มาร์เก็ตและ ดิสเคาท์สโตร์
  •  2534 เปิดตลาดติ่มซำแช่เยือกแข็งภายในประเทศ
  •  2538 เริ่มส่งออกอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานแช่เยือกแข็งไปยังตลาดต่างประเทศ
  • 2539 ขยายฐานการผลิตทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยย้ายสำนักงานใหญ่และโรงงานผลิตอาหาร สำเร็จรูป ไปอยู่ที่อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และเปิดกิจการเบเกอรี่สาขาขึ้นแห่งแรก ที่อำเภอเมือง จังหวัด พิษณุโลก เพื่อรองรับการขยายสาขาของ 7- Eleven ในภาคเหนือ
  • 2542 ขยายโรงงานผลิตเบเกอรี่ มาอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ และ เปิดกิจการ สาขา เบเกอรี่อีก 2 แห่งที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น พร้อมจัดตั้งกิจการ ฟู้ดเซ็นเตอร์ ที่โรงงานลาดกระบัง สำหรับผลิตแซนวิชและอาหารสดอื่น ๆ ป้อนสาขาของ 7-Eleven ทำให้ปัจจุบัน บริษัทฯ สามารถตอบสนองลูกค้าทั้งผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปแช่เยือกแข็ง เบเกอรี่อบสด และแซนวิชได้ ครอบคลุมทั่วประเทศ อีกทั้งยังขยายไลน์ผลิตอาหารไทยสำเร็จรูปแช่ เยือกแข็งอาทิ ต้มยำกุ้ง ผัดกระเพราไก่ แกงเผ็ดฯลฯ
  • 2547 เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 350 ล้านบาท
  • 2549 เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 600 ล้านบาท
วัตถุประสงค์
เพื่อผลิต ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่อบสด (Freshly Made Product) รูปแบบโฮมเมดที่มีคุณภาพ และความหลากหลายเทียบเท่าร้านเบเกอรี่ชั้นนำ ป้อนตลาดค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) และเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ค้าส่งในประเทศไทย

พันธกิจ

          1. มุ่งพัฒนากระบวนการผลิตและจัดจำหน่ายด้วยวิทยการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย
          2. มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด
          3. มุ่งพัฒนาพนักงานทุกระดับให้มีประสิทธิภาพ โดยการส่งเสริมและแบ่งปันการเรียนรู้ทั่วทั้งองค์กร
          4. ปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า ผู้ส่งมอบและชุมชนอย่างเป็นธรรม
          5. รับผิดชอบต่อสังคมด้วยการลดการสร้างมลภาวะที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนชุมชน

ค่านิยมองค์กร
 ยึดถือแนวปฏิบัติ C-P-R-A-M 5 ประการ ได้แก่
1. C-Creative คิดสร้างสรรค์
2. P-Productive หมั่นสร้างผลงาน
3. R-Relationship สานมนุษย์สัมพันธ์
4. M-Moral มีคุณธรรม
          5. .A-Attitude ทัศนคติที่ดี
          6. วัฒนธรรมองค์กร “การทำงานเป็นทีม” และ “การบริหารจัดการอย่างคล่องตัว”


ปัจจัยสำคัญที่กำหนดความสำเร็จของธุรกิจ

          1. ความสามารถในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เบเกอรี่รองรับการขยายตัวที่ก้าวกระโดดในทศวรรษที่ผ่านมาของตลาด Modern Trade
          2. ศักยภาพในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเป็นผู้บุกเบิก “ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่อบสด” แบบโฮมเมด ในตลาด Modern Trade ด้วยสินค้าที่หลากหลาย และวางตลาดสินค้าใหม่ทุกเดือน
         3. ประสิทธิภาพในการกระจายสินค้าไปยังสาขาของลูกค้าทั่วประเทศทุกสาขาภายในวันเดียว เนื่องจากมีโรงงานสาขาอีก 4 แห่งกระจายทุกภาค ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก หาดใหญ่ และขอนแก่น
         4. ปัจจัยดังกล่าว นับได้ว่ามาจากการนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์กร ที่สามารถคาดการณ์และตอบสนองความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภค โดยกำหนดทิศทางขององค์กรได้อย่างชัดเจนและบริหารจัดการตามที่มุ่งหวังไว้ได้เป็นอย่างดี


บทบาทและหน้าที่ของแต่ละฝ่ายในบริษัท

1. แผนกคลังสินค้าและผลิตสินค้า
         มีหน้าที่ในการตรวจสอบสินค้าและรับข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า จากแผนกขายสินค้าเพื่อส่งไปยังแผนกจัดส่งสินค้าการจัดการสินค้าการส่งสินค้าไปยังจุดจ่ายทันทีที่รับสินค้าโดยไม่เก็บสต๊อกในคลังทำให้สินค้าของลูกค้าเคลื่อนที่ได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการผลิตสินค้าภายในบริษัท


ปัญหาคลังสินค้าและผลิต
1. คลังพัสดุไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับจัดเก็บในช่วงเดือนเทศการ
2. ฝ่ายจัดหาอุปกรณ์ไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์ที่ตรงต่อความต้องการ
3. คลังสินค้าไม่ทราบจำนวนสินค้าภายในคลังอาจยังไม่ขนมาแต่มีการบันทึกลงในรายการเรียบร้อยแล้วทำให้เช็คยอดยาก
4. สี ลวดลาย และขนาด ของชิ้นงานที่ทำไม่ได้ตามปริมาณคุณภาพที่ลูกค้ากำหนด
5. ข้อมูลมีความแตกต่าง เพราะ บางครั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลต่าง ๆ เช่น
          5.1 มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของลูกค้า เช่น การย้ายที่อยู่อาศัย, การเปลี่ยนแปลง เบอร์โทรศัพท์


2. แผนกขนส่งและการกระจายสินค้า

          มีหน้าที่ ขนส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าให้ตรงตามเวลา และสถานที่ที่กำหนด เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ โดยรับสินค้าจาก ฝ่ายผลิตและคลังสินค้า


ปัญหาการขนส่งและกระจายสินค้า
1. การขนส่งเป็นไปอย่างล่าช้า
2. พนักงานขาดความชำนาญทาง
3. ที่อยู่เกิดการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง

3.แผนกบัญชี

          ในการบริหารธุรกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายของกิจการ (มีกำไรสูงสุด) จำเป็นต้องอาศัยระบบบัญชีต้นทุน การวิเคราะห์ต้นทุนและการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ การบริหารต้นทุนไม่ให้เกิดการสูญเปล่าหรือรั่วไหลการใช้ทรัพยากรที่มีอย่างคุ้มค่าล้วนแต่อาศัย ข้อมูลด้านต้นทุน ทั้งสิ้นดังนั้น ตัวเลขที่ถูกต้อง
แม่นยำและทันเหตุการณ์เท่านั้นที่จะมีชัยเหนือ คู่แข่งได้ สถาบันจึงได้จัดหลักสูตรนี้ขึ้น เพื่อให้ท่านผู้เข้าสัมมนาได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงในทางปฏิบัติ


ปัญหาแผนกบัญชี
1. เอกสารต่าง ๆ มีจำนวนมาก
2. ค้นหาเอกสารได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
3. เอกสารสูญหายเพราะ เอกสารมีมาก และจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ อาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทได้
4. การทำงบประมาณการเงินทำได้ยาก เพราะเอกสารมีจำนวนมากและจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
5. การอนุมัติงบประมาณเป็นไปอย่างล่าช้า
6. มีบกพร่องในการตรวจสอบบัญชี
7. ต้นทุนสูงงบประมาณต่ำ

4. แผนกจัดซื้อ

          มีหน้าที่จัดซื้อวัตถุดิบ ชิ้นส่วนหรือวัสดุต่างๆที่หน่วยงานต้องการให้ตรงกับความต้องการทั้งในด้านปริมาณคุณภาพ และเวลา โดยให้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุด


ปัญหาของแผนกจัดซื้อ
1. วัตถุดิบ ชิ้นส่วนต่างๆ ที่หน่วยงานต้องการ บางอย่างจัดหาไม่ได้ตามที่กำหนด
2. วัตถุดิบ ชิ้นส่วนต่างๆบางชิ้นนั้นไม่ได้ตามปริมาณและคุณภาพที่กำหนด
3. วัตถุดิบ ชิ้นส่วนต่างๆบางชิ้นมีราคาแพงและในการจัดส่งต้องเสียค่าจัดส่งสินค้าด้วย
4. เวลาในการสั่งของสินค้าและได้รับนั้น ไม่ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด

5.แผนกขาย

          มีหน้าที่ในการบริการจำหน่ายสินค้าให้กับลูกค้า โดยแผนกขายจะมีการเก็บข้อมูลของลูกค้าที่มาสั่งซื้อ และข้อมูลการสั่งซื้อ


ปัญหาภายในแผนกขาย
1. เอกสารต่าง ๆ มีจำนวนมาก เอกสารต่าง ๆ มีดังนี้
     1.1 เอกสารข้อมูลลูกค้า
     1.2 เอกสารการสั่งซื้อสินค้า
     1.3 เอกสารการขาย รวมถึงรายละเอียดของตัวสินค้าที่ขาย

     1.4 รายละเอียดการรับประกันของสินค้า
2. เอกสารต่าง ๆ ถูกค้นหาได้ยาก เพราะการจัดเก็บที่ไม่เป็นระเบียบ
3. ข้อมูลมีความแตกต่าง เพราะ บางครั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลต่าง ๆ เช่น
     3.1 มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของลูกค้า เช่น การย้ายที่อยู่อาศัย, การเปลี่ยนแปลงเบอร์โทรศัพท์
4. ข้อมูลเกิดการซ้ำซ้อน เพราะ บางครั้งลูกค้า 1 ท่าน อาจซื้อสินค้า หลายครั้ง และฝ่ายขายมีการเก็บข้อมูลทุกครั้ง เอกสารจึงเกิดความซ้ำซ้อน


6.แผนกควบคุมคุณภาพและบุคคล

          ระบบการกำกับกระบวนการหรือกิจกรรมให้มีคุณภาพตามที่กำหนด โดยใช้กระบวนการตรวจสอบ (Inspection) ทดสอบ (Testing) และทวนสอบ (Verification) ว่าผลที่ได้ ซึ่งอาจเป็นผลิตภัณฑ์หรือผลของการให้บริการนั้นเป็นไปตามข้อกำหนด ถ้าพบสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดหรือข้อบกพร่องก็ต้องกำหนดปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) เพื่อแก้ไขสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดหรือข้อบกพร่องและกำจัดสาเหตุที่มาของสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดหรือข้อบกพร่องนั้น การจัดการดูแล งานด้านการบริหารบุคคลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับพนักงาน การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน การลงโทษนักงาน ในองค์กร


ปัญหาแผนกควบคุมคุณภาพและบุคคล
1. บุคลากรไม่เพียงพอ
2. การบริการล่าช้า
3. เอกสารมีจำนวนมาก ทำให้ยากต่อการจัดเก็บ
4. การค้นหาเอกสารเป็นไปได้ยาก เนื่องจากไม่มีการจัดเก็บเอกสารอย่างเป็นระบบ


ปัญหาระหว่างแผนก


ปัญหาระหว่างคลังและการขนส่ง
1. การปฏิบัติงานไม่ต่อเนื่อง
2. การจัดหมวดหมูในคลังไม่เป็นระบบทำให้การขนส่งกระจายสินค้าทำได้อย่างล่าช้า


ปัญหาระหว่างแผนกขายกับแผนกจัดส่งสินค้า
1. ถ้าแผนกขายทำเอกสารการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าหายจะทำให้แผนกจัดส่งสินค้าไม่ทราบว่าจะส่งสินค้าให้กับลูกค้าไม่ได้ ไม่รู้สถานที่จัดส่งสินค้า เวลาในการนัดรับสินค้าไม่ตรงตามที่ระบุ

ปัญหาระหว่างบัญชีกับจัดซื้อ
1. การอนุมัติสั่งซื่อล่าช้าทำให้ฝ่ายจัดซื้อเสียเวลาในการหาอุปกรณ์
2. ต้นทุนในการซื้อสินค้าในการขนส่งสูง รายได้ต่ำ
3. ฝ่ายจัดซื้อไม่แจ้งจำนวนเงินในการจำหน่ายสินค้าให้ฝ่ายบัญชีและการเงินทราบ ทำให้ฝ่ายบัญชีและการเงินไม่สามารถจัดทำงาบประมาณการเงินได้

ปัญหาระหว่างฝ่ายซ่อมบำรุงและความปลอดภัยกับธุรการบุคคลและจัดซื้อ
1. ฝ่ายติดตั้งซ่อมบำรุงขาดประสบการณ์ในการทำงาน เพราะฝ่ายบุคคลไม่จัดการอบรมการทำงานให้กับบุคคลากรในฝ่ายนี้
2. ฝ่ายติดตั้งและซ่อมบำรุงไม่เพียงพอในการทำงานเพราะไม่มีการแจ้งให้ฝ่ายบุคคลากรทราบว่าต้องการบุคลลากรเพิ่ม

ปัญหาระหว่างฝ่ายซ่อมบำรุงและความปลอดภัยกับลูกค้าสัมพันธ์และระบบคุณภาพ
1. ฝ่ายซ่อมไม่ตรวจสอบคุณภาพของยานพาหนะที่ใช่ในการขนส่งทำให้พัสดุลูกค้าเกิดความเสียหาย


ปัญหาระหว่างฝ่ายระหว่างบริการต้นทุน งบประมาณและรายได้และคลังสินค้า
1. ฝ่ายคลังสินค้าไม่ได้แจ้งยอดการคลังสินค้าให้แผนกบัญชีทราบ ฝ่ายบัญชีก็ไม่สามารถทำงบการเงินได้ เพราะจะต้องทราบยอดการขนส่งในแต่ละงวด

ปัญหาระหว่างบัญชีและฝ่ายขนส่ง
1. ถ้าฝ่ายจัดส่งสินค้าไม่ส่งสินค้าให้กับลูกค้า แล้วไม่แจ้งการชำระเงินของลูกค้าให้ฝ่ายบัญชีทราบ ฝ่ายบัญชีก็จะไม่ทราบว่าลูกค้าชำระเงินแล้ว


ปัญหาระหว่างแผนกควบคุมคุณภาพและบุคคลกับฝ่ายผลิต
1. ถ้าแผนกควบคุมคุณภาพตรวจพบ ปัญหาที่ชิ้นงานที่ฝ่ายผลิตทำ แผนกควบคุมคุณภาพก็จะต้องตีชิ้นงานนั้นกลับไปให้ฝ่ายผลิตทำใหม่ จึงทำให้การดำเนินการผลิตนั้นเป็นไปอย่างล่าช้าไม่ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด


ปัญหาทั้งหมดและระบบแก้ไขปัญหา

1. เอกสารมีจำนวนมาก ทำให้การจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
2. สิ้นเปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
3. ค้นหาเอกสารได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีเยอะและจัดเก็บไว้หลายที่
4. ข้อมูลมีการสูญหาย เพราะไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเอกสารที่ต้องการอยู่ตรงไหน เนื่องจากการเก็บเอกสารยังไม่เป็นระบบ อาจทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย
5. ข้อมูลมีความซ้ำซ้อน เนื่องจากลูกค้า 1 ท่านมาซื้อสินค้าหลายครั้ง แต่พนักงานขายก็เก็บข้อมูลทุกครั้งทำให้มีเอกสารซ้ำซ้อน
6. การตรวจสอบเกี่ยวกับข้อมูลทางการเงินทำได้ช้า ไม่สะดวกรวดเร็ว
7. ในการเช็คสต็อกอาจเกิดความผิดพลาดขึ้น เนื่องจากสินค้าจัดเก็บอยู่หลายที่ทำให้อาจลืมเช็คได้
8. ข้อมูลสินค้าสูญหายทำให้จำนวนสินค้าภายในคลังสินค้าอาจไม่พอหรือว่ามีจำนวนสินค้ามากเกินไป เนื่องจากไม่สามารถเช็คได้ว่าในคลังสินค้ามีจำนวนสินค้าอยู่เท่าไร
9. ระยะเวลาในการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าอาจใช้เวลานานเนื่องจากต้องมีการค้นหาข้อมูลลูกค้าก่อน
10. ข้อมูลมีความแตกต่าง เช่น ลูกค้ามีที่อยู่หลายที่ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าจะจัดส่งสินค้าให้ที่ใด
11. พบข้อบกพร่องของชิ้นงานที่ทำ เช่น สินค้าที่ทำออกมาไม่ตรงไปตามแบบที่ลูกค้ากำหนด
12. ปริมาณและคุณภาพของสินค้าไม่ได้ตามที่กำหนด
13. วัตถุดิบ ชิ้นส่วนต่างๆบางชิ้นมีราคาแพง
14. ระยะเวลาในการรับสินค้าที่สั่ง ไม่ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
15. อุปกรณ์บางชิ้นนำไปใช้แล้วเกิดการชำรุดเสียหาย
16. อุปกรณ์ยืมไปไม่ได้คืน
17. ระยะเวลาในการซ่อมบำรุงนั้นบางอย่างก็ไม่ตรงตามที่กำหนด
18. แบบสิ้นค้าไม่ถูกใจลูกค้า
19. ระยะเวลาในการออกแบบชิ้นงานไม่ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
20. สินค้าไม่ได้คุณภาพตามที่ลูกค้ากำหนด
21. แผนกขายทำเอกสารในการสั่งซื้อสูญหาย แผนกบัญชีจะไม่ทราบยอดการสั่งซื้อ
22. แผนกขายทำเอกสารใบชำระเงิน ของลูกค้าสูญหายแผนกบัญชีก็จะไม่ทราบว่าลูกค้าจ่ายเงินหรือยัง
23. แผนกขายได้ขายสินค้าไปโดยไม่ได้แจ้งให้แผนกบัญชีทราบจะทำให้ยอดขายกับยอดการเงินไม่เท่ากัน
24. แผนกคลังสินค้าไม่ทราบยอดสินค้า ทำให้เมื่อแผนกขายจะขายสินค้าก็จะไม่ทราบว่าสินค้ามีจำนวนเพียงพอกับการขายหรือไม่
25. แผนกขายไม่ได้ส่งยอดการสั่งซื้อและการสั่งจองในบางกรณีของลูกค้าให้แผนกคลังสินค้าทราบ ทำให้แผนกคลังสินค้าไม่ทราบว่าจะต้องมีการสั่งซื้อสินค้ามาเพิ่มหรือไม่ เพื่อให้เพียงพอสำหรับการขาย
26. แผนกขายทำเอกสารการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าหายจะทำให้แผนกจัดส่งสินค้าไม่ทราบว่าจะส่งสินค้าให้กับลูกค้าไม่ได้ ไม่รู้สถานที่จัดส่งสินค้า เวลาในการนัดรับสินค้าไม่ตรงตามที่ระบุ
27. แผนกคลังสินค้าไม่ได้แจ้งยอดการคลังสินค้าให้แผนกบัญชีทราบ แผนกบัญชีก็ไม่สามารถทำงบการเงินได้ เพราะจะต้องทราบยอดสินค้าคงเหลือของแต่ละงวด
28. แผนกจัดส่งสินค้าไม่ส่งสินค้าให้กับลูกค้า แล้วไม่แจ้งการชำระเงินของลูกค้าให้แผนกบัญชีทราบ แผนกบัญชีก็จะไม่ทราบว่าลูกค้าชำระเงินแล้ว
29. แผนกคลังสินค้าไม่ทราบยอดสินค้า ว่ามีพอสำหรับการจัดส่งสินค้าหรือไม่ แผนกจัดส่งสินค้าก็อาจจะไม่มีสินค้าไปจัดส่งให้กับลูกค้า
30. แผนกควบคุมคุณภาพตรวจพบ ปัญหาที่ชิ้นงานที่ฝ่ายผลิตทำ แผนกควบคุมคุณภาพก็จะต้องตีชิ้นงานนั้นกลับไปให้ฝ่ายผลิตทำใหม่ จึงทำให้การดำเนินการผลิตนั้นเป็นไปอย่างล่าช้าไม่ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
31. แผนกซ่อมบำรุง อุปกรณ์เครื่องมือหมดต้องไปสั่งซื้อที่แผนกจัดซื้อ แผนกจัดซื้ออุปกรณ์บางชิ้นไม่สามารถหาซื้อได้ และระยะเวลาในการสั่งซื้ออุปกรณ์นั้นๆ กินเวลาพอสมควร
32. แผนกซ่อมบำรุงเข้าไปดำเนินการซ่อมบำรุง ฝ่ายผลิตก็จะไม่มีเครื่องมือผลิต จึงทำให้ยอมในการผลิตสินค้านั้นลดน้อยลงทำให้ไม่ได้ตามเป้าที่กำหนด ส่งผลให้การผลิตนั้นไม่เสร็จตรงตามระยะเวลาที่ต้องส่งสินค้าให้กับลูกค้า
33. ถ้าแผนกจัดซื้อไม่มีรายการสินค้าที่จะซื้อให้กับแผนกบัญชีก็จะไม่สามารถเบิกจ่ายเงินออกมาซื้อสินค้าได้


          ลักษณะของสถานประกอบการหรือแหล่งที่มาของรายรับ-รายจ่ายที่ทางบริษัทได้รับคือ ได้จากการขายสินค้าต่าง ๆของบริษัทให้กับลูกค้าของทางบริษัทเกิดจากรายจ่ายต่าง ๆ ดังนี้


- การจ่ายเงินของพนักงานในบริษัท
- การซ่อมบำรุงเครื่องจักรในโรงงานที่ใช้ในการผลิต
- การชะรำค่าน้ำมันในการขนส่ง
- การจัดหาซื้ออุปกรณ์ในการผลิต การติดตั้งและการซ่อมบำรุง
- การจัดหาอุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ ของบริษัท


วัตถุประสงค์ของการพัฒนาระบบใหม่
เป็นการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการและแก้ไขปัญหาในระบบการทำงานแบบเดิม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อให้มีความสะดวกและรวดเร็วกว่าระบบงานเดิม
2. เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ จัดเก็บ ค้นหาข้อมูลและลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
3. เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการจัดการในฝ่ายต่าง ๆ ของบริษัท
4. เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง และเชื่อถือได้


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. การทำงานจะมีความสะดวกและรวดเร็วกว่าระบบงานเดิม
2. ไม่เกิดการซ้ำซ้อนของข้อมูลเพราะมีการจัดการ จัดเก็บ ข้อมูลที่ดีกว่าเดิม
3. สามารถแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ของแต่ละแผนกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ เพื่อลดความผิดพลาดในการทำงาน


ขอบเขตในการพัฒนาระบบ
1. ระบบการจัดการสินค้า
2. ระบบการผลิตสินค้า
3. ระบบการพัฒนาบุคคลากร
4. ระบบบัญชี





ขั้นตอนที่ 1

การค้นหาและเลือกสรรโครงการและการประเมินความต้องการของบริษัท

                      ตารางแสดงรายการการทำงาน(Functions)หรือกิจกรรมทั้งหมดของบริษัท

ตารางที่  1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และหน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

แสดงการจำแนกกิจกรรม (Activities) ของหน้า ที่การทำงาน (Functions) ในบริษัท
 
แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และหน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ตารางสรุปการพิจารณาของโครงการพัฒนาระบบ
สรุปการพิจารณาของโครงการพัฒนาระบบ
           จากการพิจารณาโครงการทั้ง 8 โครงการตามวัตถุประสงค์ ขนาดโครงการและ ผลประโยชน์ จะพบว่าโครงการที่ตรงตามวัตถุประสงค์ และให้ผลประโยชน์แก่บริษัท มากที่สุด คือโครงการระบบจัดการตารางเวลา บริษัทจึงเห็นควรเลือกโครงการระบบจัดการตารางเวลา ซึ่งเป็นระบบที่ครอบคลุมส่วนงานเพื่อจัดสรรเวลาในการทำงานของแต่ละแผนกให้เสร็จตามเวลาที่กำหนดไม่ก่อให้เกิดปัญหาการทำงานล่าช้าในแต่ละแผนก เพราะเมื่อแผนกใดแผนกหนึ่งทำงานล่าช้ากว่ากำหนด อีกแผนกจะไม่สามารถดำเนินงานต่อได้ และยังสามารถสร้างผลกำไร สรร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าได้อีกด้วย อีกทั้งยังเป็นโครงการขนาดกลางที่ใช้เงินลงทุนไม่มาก

1. ค้นหาโครงการที่ต้องการพัฒนา
 จากการค้นหาโครงการของแผนกต่าง ๆ สามารถรวบรวมโครงการพัฒนาระบบได้ทั้งหมด 4 โครงการดังนี้
2. จำแนกและจัดกลุ่มโครงการที่ค้นหามาโครงการทั้ง 4 ที่สามารถค้นหามาได้ มีวัตถุประสงค์ของโครงการที่แตกต่างกันดังนี้
-โครงการพัฒนาระบบการขายมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การทำงานของบริษัทมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เริ่มตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ เช่น รายละเอียดลูกค้า รายละเอียดการขายสินค้า รวมถึงการบริการต่าง ๆ แล้วทำการกระจายข้อมูลไปยังฝ่ายต่าง ๆ ที่ต้องการข้อมูลในส่วนนั้น ๆ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- โครงการพัฒนาระบบการผลิตและคลังสินค้ามีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทมีจำนวนสินค้าที่เหมาะสมแก่การจำหน่าย โดยมีการเก็บข้อมูลจากฝ่ายขาย ว่าบริษัทมีการประมาณการจำหน่ายสินค้าอย่างไรและนำมาทำการ วิเคราะห์เพื่อผลิตสินค้า และคงคลังให้พอเหมาะ ซึ่งจะทำให้สามารถคาดคะเนการผลิตได้ถูกต้อง
- โครงการพัฒนาบุคลากรในการทำงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของตัวเอง และมีการอบรม สัมมนาให้บุคลากรทำงานในหน้าที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อให้บริษัทมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
-โครงการพัฒนาระบบจัดสรรงบประมาณของบริษัทมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทมีงบประมาณที่ใช้อย่างเหมาะสม และสามารถทราบยอดรายรับ-รายจ่าย ของบริษัทเพื่อทราบต้นทุนกำไรของบริษัทได้
          เมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ของโครงการทั้ง 4 แล้ว พบว่าล้วนแล้วแต่ให้ประโยชน์กับบริษัทจึงจำเป็นต้องคัดเลือกโครงการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัทมากที่สุด ดังนั้นจึงเริ่มต้นด้วยการนำโครงการทั้ง 4 มาเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของบริษัทเพื่อค้นหาโครงการที่ตรงตามวัตถุประสงค์มากที่สุด และสามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุดของบริษัทได้การเสนอแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งานแนวทางเลือกเพื่อนำระบบใหม่มาใช้งาน โดยจะบอกถึงรายระเอียดของระบบที่จะพัฒนามีดังนี้ ระบบจัดเก็บเอกสาร ระบบการเงิน ระบบคลังสินค้า ระบบขนส่ง ระบบตรวจสอบสินค้า ระบบจัดซื้อ ระบบจัดเก็บอุปกรณ์ ระบบจัดการตารางเวลา โดยมีแนวทางเลือกจำนวนทั้งสิน 2 ทางเลือก
1.จ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ
2.ให้ทีมงานของเราพัฒนาระบบเอง
ทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้ที่ดีที่สุด


ขั้นตอนที่ 2
การเริ่มต้นและวางแผนโครงการและลักษณะของสถานประกอบการของแหล่งรายรับ-รายจ่ายเป้าหมาย
          นำระบบสาระสนเทศมาใช้เพื่อบริหารเวลาการทำงานในบริษัทเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการทำงานและบริหารเวลาในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาระบบใหม่
เป็นการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการและแก้ไขปัญหาในระบบการทำงานแบบเดิม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อให้มีความสะดวกและรวดเร็วกว่าระบบงานเดิม
2. เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ จัดเก็บ ค้นหาข้อมูลและลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
3. เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการจัดการในฝ่ายต่าง ๆ ของบริษัท
4. เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง และเชื่อถือได้

ขอบเขตในการพัฒนาระบบ
1. ระบบการจัดการสินค้า
2. ระบบการผลิตสินค้า
3. ระบบการพัฒนาบุคคลากร
4. ระบบบัญชี

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. การทำงานจะมีความสะดวกและรวดเร็วกว่าระบบงานเดิม
2. ไม่เกิดการซ้ำซ้อนของข้อมูลเพราะมีการจัดการ จัดเก็บ ข้อมูลที่ดีกว่าเดิม
3. สามารถแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ของแต่ละแผนกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ เพื่อลดความผิดพลาดในการทำงาน

ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
          ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้รับมอบหมาย อาจจะเป็นบุคคลที่มีความรู้ในด้านของระบบที่ต้องการเปลี่ยนแปลงที่ทำงานอยู่ในบริษัทหรือทางบริษัทจ้างให้ทำการวิเคราะห์ระบบ ซึ่งบุคคลจะต้องดำรงตำแหน่งเกี่ยวกับการดูแลระบบ เช่น
1. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ เป็นบุคคลที่มีความรู้ในเรื่องของการทำงานของระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลและติดต่อประสานงานระหว่างผู้ใช้ พนักงานหรือทีมโปรแกรม จำทำเอกสารของระบบรวมถึงการทดสอบโปรแกรมของระบบ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. โปรแกรมเมอร์ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ 2 คน ทำหน้าที่ในการเขียนและติดตั้งโปรแกรมของระบบที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลง รวมทั้งทดสอบโปรแกรมของระบบใหม่

ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร
          จากดังกล่าวเราอาจจะมีการแบ่งงานออกเป็นทีมหรือว่ามีการระบุหน้าที่ให้แต่ละฝ่ายหรือแต่ละคนทราบ เพื่อที่งานจะประสบผลสำเร็จ ปัจจุบันทางบริษัทได้มีการใช้ระบบเครือข่าย LAN อยู่แล้วหรือเครือข่ายที่มีความเร็วสูงกว่านี้ มีรายละเอียดพอเข้าใจดังนี้
1. เครื่องแม่ข่าย(Server) จำนวน 6 เครื่อง
2. เครื่องลูกข่าย(Workstation) จำนวน 60 เครื่อง
3. เครื่องพิมพ์(Printer) จำนวน 10 เครื่อง

ปัจจุบันทางบริษัทได้นำเทคโนโลยีหลายอย่างมาใช้ในการบริหารงาน ซึ่งปัจจุบันมีรายละเอียดดังนี้
1. ระบบโปรแกรม 1 ระบบ
2. เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและลูกข่ายตามจำนวนที่บริษัทต้องการ
3. บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการทำงานของโปรแกรม
4. อุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบ
     
สรุปงบประมาณที่ใช้ในของแต่ละฝ่ายได้ดังนี้

1. ในส่วนของผู้บริหาร
- ค่าตอบแทนสำหรับทีมงานพัฒนา
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบโปรแกรมเมอร์ 85000

2. แผนกทุกแผนกที่มีการเปลี่ยนแปลงระบ
- ค่าการฝึกอบรมพนักงานใหม่เกี่ยวกับระบบใหม่ 350000

3. การจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ
- เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ใช้ในการลงระบบ 50000
- อื่น ๆ 10000

ประมาณการใช้งบประมาณ
          จากรายการดังกล่าวเป็นเพียงการประมาณค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ที่ทางองค์กรจ่ายในการปรับปรุงระบบ ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่านี้ที่ใช้เพราะในแต่ละองค์กรจะมีหลายแผนกในการทำงานและงานในแต่ละระบบจะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนมาก ดังนั้นค่าใช้จ่ายจึงไม่เท่ากัน

ประมาณการระยะเวลาดำเนินงาน
          ระยะเวลาในการดำเนินงานการวิเคราะห์ระบบของบริษัทซี.พี.ค้าปลีกและการตลาด จำกัด ที่ต้องการนำระบบมาใช้ในการทำงานในส่วนของระบบจัดการตารางเวลาเพื่อความสะดวกในส่วนของการทำงานภายในบริษัท ซึ่งก่อนที่จะได้เริ่มทำงานนั้นเราจะต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาถึงขั้นตอนต่าง ๆ เป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือน คือเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง พฤศจิกายน 2552 ซึ่งสามารถแสดงรายละเอียดการดำเนินงานได้ดังนี้
          จากดำเนินการดังกล่าวระยะเวลาที่ใช้จริง ๆ ในการวิเคราะห์อาจจะไม่พอแต่เพื่อเป็นการสรุปอย่างคร่าว ๆ ว่าเราได้ดำเนินการอะไรไปบ้างและระบบใหม่ที่ได้จะเสร็จภายในกี่วัน  ซึ่งเราก็ได้ยกตัวอย่างไปแล้ว

รายงานสรุปผลสำหรับผู้บริหาร
          จากการศึกษาปัญหาที่พบจากระบบเดิมของบริษัท ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาด จำกัด ส่วนใหญ่บริษัทจะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้แล้วบางส่วนแต่บางระบบก็ต้องการระบบที่มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น ดังนั้นทางบริษัทจึงต้องมีการจัดทำระบบใหม่ขึ้น เมื่อเราทำการวิเคราะห์ระบบแล้วขั้นตอนต่าง ๆ ที่เราได้ทำก็จะจัดทำรายงานสรุปผลสำหรับผู้บริหารเพื่อให้ทราบขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ซึ่งจะมีขั้นตอนประกอบย่อย ๆเพื่อความเข้าใจง่าย 2 ด้านดังนี้
1• ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค
           ในส่วนนี้อาจจะเกี่ยวกับ ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ขอระบบเดิมว่ามีการใช้ส่วนใดบ้าง เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อใช้งานในด้านต่าง ๆ และอุปกรณ์อื่น ๆ
2. ความเป็นไปได้ทางด้านการปฏิบัติงาน
          ทำการศึกษาด้านต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานของผู้ใช้ของระบบใหม่ที่จะนำมาใช้กับบริษัท ซึ่งขั้นตอนนี้จะเกี่ยวกับการทดสอบ การทดลองของระบบว่าระบบใหม่นี้มีผลต่อการทำงานของบริษัทอย่างไรจากการทำงานของนักวิเคราะห์ระบบผลที่ได้ประสบผลสำเร็จระบบที่ได้เป็นที่ตรงตามความต้องการของบริษัท

ขั้นตอนที่ 3การกำหนดความต้องการของระบบ
          เมื่อโครงการพัฒนาระบบจัดการตารางเวลา ได้รับการอนุมัติจากการนำเสนอโครงการในขั้นตอนที่ผ่านมา ดั้งนั้นจึงเริ่มต้นด้วยความการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบเดิม ในการกำหนดความต้องการครั้งนี้ ทีมงานเลือกใช้วิธีการออกแบบสอบถาม (Questionnaire)บุคคลผู้ตอบแบบสอบถามคือผู้จัดการแผนกต่างๆ การใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลในส่วนที่ต้องการพัฒนา เนื่องจากทีมงานสามารถควบคุมหัวข้อคำถามที่ต้องการรายละเอียดได้มากกว่าการสัมภาษณ์ ไม่ต้องมีกาจดบันทึก ไม่รบกวนเวลาทำงานของผู้จัดการแผนกต่างๆมากนัก สามารถเก็บข้อมูลได้มากตามการตั้งคำถามในแบบสอบถาม อีกทั้งผู้ตอบแบบสอบถามจะรู้สึกมีอิสระในการให้ข้อมูล

ตัวอย่างแบบสอบถาม
                               
 ข้อมูลและเอกสารของระบบงานเดิมที่รวบรวมได้
          จากการที่ทีมงานได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากแผนกต่างๆ ด้วยวิธีการออกแบบสอบถาม สามารถสรุปข้อมูลที่ได้รับดังนี้
1. ข้อมูลระบบการทำงานของแต่ละแผนก
2. ความเหมาะสมของเวลาการทำงานต่อคนต่องาน
3. ระยะเวลาของแต่ละส่วนงานที่ได้รับ

ความต้องการของระบบใหม่ของผู้ใช้
          จากการรวบรวมความต้องการของระบบใหม่ทำให้ทีมงานได้ข้อมูลเพิ่มเติม จังได้นำมาวิเคราะห์หาขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่ตามความต้องการดังนี้
1. สามารถเรียกดูข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น
2. สามารถแก้ไข ปรับปรุงข้อมูลได้โดยสะดวก
3. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
4. การจัดทำรายงานมีความสะดวกรวดเร็วขึ้น

เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการดังกล่าว สามารถแบ่งการทำงานดังนี้
          ระบบการจัดการตารางเวลา เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับเวลา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานและก่อให้เกิดผลกำไรต่อบริษัทมากที่สุด เพราะระบบจะทำการตรวจเช็คเวลาสินค้าที่ผลิตออกมาเวลามีระยะเวลาการทำงานเท่าไร เริ่มต้นและสิ้นสุดเท่าไร ทำให้สามารถผลิตสินค้าเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไม่เกิดปัญหาต่อลูกค้าและบริษัท จึงก่อให้เกิดผลดีและกำไรสูงสุด

แบบหน้าตาโปรแกรมการขายสินค้าแบบชำระเงินสด
1. รับรหัสสินค้า
2. รับจำนวนที่ขาย
3. หากต้องการเปลี่ยนแปลงราคาสามารถดูได้จากปุ่มดูราคาแล้วทำการเปลี่ยนแปลงในช่องราคา/หน่วยได้
4. บันทึกรายการนั้น
5. ทำการบันทึกรายการสินค้าที่ซื้อจนครบทุกรายการแล้วทำการรวมจำนวนเงินทั้งสิ้น
6. บันทึกการขาย
7. ถ้าไม่ต้องการขายให้ยกเลิกการขายสินค้าได้
8. สินค้าใดมีจำนวนเท่ากับจุดสั่งซื้อมีคำเตือนและสามารถเลือกที่จะสั่งซื้อได้หรือไม่
9. ออกจากการทำงาน
Table : สินค้า,ขายสดหลัก,ขายละเอียด,รายได้
ฟอร์มการขายสินค้าเชื่อ
1. รหัสลูกค้า โปรแกรมจะบอกจำนวนเงินเครดิตคงเหลือให้ทราบ
2. รับรหัสสินค้า
3. รับจำนวนที่ขาย
4. หากต้องการเปลี่ยนแปลงราคาสามารถดูได้จากปุ่มดูราคาแล้วทำการเปลี่ยนแปลงในช่องราคา/หน่วยได้
5. บันทึกรายการนั้น
6. ทำการบันทึกรายการสินค้าที่ซื้อจนครบทุกรายการแล้วทำการรวมจำนวนเงินทั้งสิ้น
7. ถ้าไม่ต้องการขายให้ยกเลิกการขายสินค้าได้
8. สินค้าใดมีจำนวนเท่ากับจุดสั่งซื้อมีคำเตือนและสามารถเลือกที่จะสั่งซื้อได้หรือไม่
9. ใส่จำนวนงวดที่ต้องการชำระเงินโดยไม่เกิน 3 งวด
10. บันทึกการขาย
11. ออกจากการทำงาน
Table : ลูกค้า,สินค้า,ขายเชื่อหลัก,ขายละเอียด

1. เลือกประเภทการขาย
2. เลือกสาเหตุการคืน
3. เลือกเลขที่ขาย ทำการแสดงชื่อลูกค้าที่ซื้อไป
4. เลือกสินค้าที่นำมาคืน
5. เลือกการรับคืน ถ้าเลือกลดสินค้าตัวเดิมคือมีสินค้าเดิมอยู่แล้วเปลี่ยนให้ไป ถ้าเลือกลดหนี้หรือคืนเงินแสดงว่าไม่มีสินค้าที่ลูกค้านำมาเปลี่ยน ถ้าเลือกเปลี่ยนตัวใหม่แสดงว่าลูกค้าซื้อผิดไปต้องเอาตัวใหม่เปลี่ยนให้ไป โดยจะทำการบันทึกสินค้าที่เปลี่ยนให้ไป จากนั้นยืนยันการรับคืน
6. สามารถยกเลิกการรับคืนแต่ละรายการได้
7. ทำการบันทึกการรับคืน
8. หากต้องการยกเลิกรายการสามารถทำได้
9. ทำการบันทึกสินค้าที่รับคืน
10. เสร็จสิ้นแล้วออกจากการทำงาน
Table : ขายสดหลัก,ขายเชื่อหลัก,ลูกค้า,สินค้า,รับ-ส่งคืนสินค้า,บันทึกรายการสินค้าที่เปลี่ยนใหม่ 
 
 
 
 
 
 

































































วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

ผลการทดสอบเผย Apple iPad เร็วกว่า Google Nexus One


บทความโดย: Windows Administrator Blog

AnandTech ได้ทำการทดสอบทำงานของ Apple iPad เทียบกับ Google Nexus One และ iPhone 3GS ด้วย WebKit SunSpider JavaScript Benchmark โดยผลการทดสอบปรากฏว่า iPad ซึ่งใช้ชิป Apple A4 system-on-a-chip (SoC) ทำงานได้เร็วกว่า Nexus One ซึ่งใช้ชิป Qualcomm QSD8250 ถึง 37.6%

โดย AnandTech มีความเห็นว่าสาเหตุที่ทำให้ iPad มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่านั้น มาจาก iPad OS ซึ่งได้รับการพัฒนาให้ optimize มากกว่า Android และระบบแบตเตอรี่ของ iPad ที่มีกำลังสูงกว่า

Credit: AnandTech

นอกจากนี้ เว็บไซต์ AnandTech ยังได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานด้านฮาร์ดแวร์โดยการมุ่งไปที่ซีพียู (CPU) Apple A4 SoC ซึ่งใช้ใน iPad และซีพียู Qualcomm Snapdragon ที่ใช้ใน Nexus One โดยชิปทั้ง 2 ตัวมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาเท่ากันที่ 1GHz และชิป ARM Cortex A8 ที่ใช้ใน iPhone 3GS ซึ่งความเร็วของสัญญาณนาฬิกา 600MHz ผลปรากฏว่าชิป Apple A4 SoC จะมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่าดังรูปด้านล่าง

Credit: AnandTech

ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้สูงว่า iPhone 4G นั้นจะใช้ชิป Apple A4 และเมื่อทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการ iPhone OS 4.0 น่าจะเป็นคู่ต่อสู้ที่สูสีกับระบบปฏิบัติการ Android ของ Google

อนึ่ง รายละเอียดทางเทคนิคของชิป Apple A4 ในปัจจุบันยังมีน้อยเนื่องจาก Apple ได้เก็บเป็นความลับในระดับสูงสุด โดยทราบเพียงแต่ว่าผลิตโดยโรงงานของ Samsung และ (คาดว่า) ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 45nm

Credit: AnandTech
สำหรับด้าน Google นั้น ในปัจจุบันกำลังพัฒนาชิป Snapdragon รุ่นใหม่ซึ่งจะมีความเร็ว 1.3 GHz และ (คาดว่า) จะออกในช่วงปลายปีนี้